1.การเตรียมการเรียกพล
2.การเตเรียมการของหน่วยวางแผนการเรียก
2.1 กำหนดแนวทางการวางแผนเรียกพลก่อนวัน ต.– 2 ปี ซึ่งประกอบด้วย
2.1.1 กำหนดจำนวนกำลังพลสำรองที่จะเรียกมี 2 วิธี
2.1.1.1 การเตรียมพลจำกัดจำนวน หมายถึง การเรียกพลตามบัญชีบรรจุกำลัง ซึ่งจัดเตรียมไว้ตั้งแต่ยากปกติ
2.1.1.2 การเรียกพลไม่จำกัดจำนวน หมายถึง การเรียกพลโดยไม่ใช้บัญชีบรรจุกำลัง
2.1.2 กำหนดหน่วยเรียกพล (จทบ.) และหน่วยรับพล สำหรับรายละเอียดของงบประมาณ การงบประมาณดังกล่าวให้เสนอ สปช.ทบ. อีกครั้งหนึ่งก่อนวัน ต. – 1 ปี
2.2 รายงานตามลำดับชั้นจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก่อนวัน ต. – 90 วัน เพื่อดำเนินการในเรื่อง ดังนี้
2.2.1 ขออนุมัติเรียกกำลังพลสำรอง ประเภทนายทหารสัญญาบัตร
2.2.2 แจ้งไปยังกระทรวงคมนาคม ในเรื่องการโดยสารยานพาหนะของรัฐบาลหรือของรัฐวิสาหกิจ
2.2.3 แจ้งไปยังกระทรวงพาณิชย์ในเรื่องการจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่ลูกจ้างคนงานของบริษัทห้างร้านเอกชนที่ถูกเรียกพล
2.2.4 แจ้งไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอให้เรียกกำลังพลสำรอง ประเภทนายทหารประทวนและพลทหาร
2.3 ประสานการปฏิบัติในรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองท้องที่ ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องในการเรียกพล
2.4 ขออนุมัติแผนการเรียกพล ต่อผู้มีอำนาจสั่งการเรียกพล และแจกจ่ายแผนการเรียกพล ให้แก่หน่วยที่เกี่ยวข้องก่อน วัน ต. – 30 วัน
2.5 อำนวยการงบประมาณงานเรียกพลให้เป็นไปตามแผนการเรียกพล และให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของทางราชการ
2.6 ควบคุมกำกับดูแล และ/หรือ ประสานงานกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง ให้ปฏิบัติไปตามนโยบายและแผนการเรียกพล โดยการจัดเจ้าหน้าที่วางแผนการเรียกพลเดินทางไปตรวจสอบการเตรียมการของหน่วยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.การเตรียมการของหน่วยสนับสนุน
3.1 กรมฝ่ายยุทธบริการ และหน่วยสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง เตรียมการสนับสนุนสิ่งอุปกรณ์ , ยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ และการบริการให้แก่หน่วยวางแผน , หน่วยเรียกพล และหน่วยรับพล
3.2 การเตรียมการสนับสนุน ให้เป็นไปตามงบประมาณและแผนจัดหาที่ได้รับอนุมัติจาก ทบ. และ/หรือ ตามแผนการเรียกพลโดยสายส่งกำลังบำรุงตามปกติ
4.การเตรียมการของหน่วยเรียกพล
4.1 การวางแผนกเรียกพล
4.1.1 มอบภารกิจให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ เช่น การประชาสัมพันธ์, การรักษาความปลอดภัย, การตกแต่งสถานที่, การเลี้ยงดู, การขนส่ง, การรักษาพยาบาล การเชิญเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง , ข้าราชการอื่น ๆ และประชาชนในเขตพื้นที่มาร่วมในวันดำเนินกรรมวิธีรับพล ฯ
4.1.2 กำหนดจำนวนกำลังพลสำรองที่จะเรียกในแต่ละจังหวัด อำเภอ และตำบล
4.1.3 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดำเนินกรรมวิธีรับพล – ส่งพล ฯลฯ
4.1.4 รายละเอียดในการปฏิบัติอื่น ๆ
4.2 การตรวจสอบสภาพกำลังพลก่อนการเรียก
4.2.1 เป็นการตรวจสอบ เฉพาะการเรียกพลจำกัดจำนวนเท่านั้น และเป็นการตรวจสอบกรณีพิเศษนอกจากการตรวจสอบสภาพประจำปี
4.2.2 ให้กระทำก่อนวัน ต. – 60 โดยมีกรรมวิธีในการตรวจสอบสภาพ เช่น เดียวกับการตรวจสอบสภาพประจำปี ตามระเบียบ กห. ว่าด้วยการตรวจสอบสภาพทหารกองหนุน ฉบับมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน
4.2.3 ให้ตรวจสอบตามจำนวนที่จะเรียกจริง และอะไหล่ไว้อีกร้อยละ 50 ของจำนวนที่จะเรียก
4.3 การจัดทำบัญชีบรรจุกำลัง
4.3.1 ในกรณีที่เป็นการเรียกพล ให้แก่หน่วยที่ได้รับการจัดตั้งใหม่ หน่วยเรียกพลจะเป็นผู้จัดทำบัญชีบรรจุกำลังของหน่วยนั้นให้แล้วเสร็จภายในวัน ต. – 30 และตรวจสอบให้ถูกต้องทันสมัยอยู่เสมอ
4.3.2 ในกรณีที่เป็นการเรียกพลให้แก่หน่วยได้รับการจัดตั้งแล้ว หน่วยนั้นจะเป็นผู้จัดทำบัญชีบรรจุกำลัง โดยจะส่งบัญชีตำแหน่งที่ขาด เพื่อขอรายชื่อกำลังพลสำรองมายังหน่วยเรียกพลที่ให้การสนับสนุน หน่วยเรียกพลจะต้องส่งรายชื่อที่ตรวจสอบได้ตามข้อ 4.2 พร้อมทั้งรายละเอียดในเรื่อง ชกท. , ตำแหน่ง ฯลฯ ให้ภายในวัน ต.- 45
4.3.3 รายละเอียดในการจัดทำบัญชีบรรจุกำลัง ให้ยึดถือคำแนะนำในการจัดทำบัญชีบรรจุกำลังมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน
4.3.4 ตัวอย่างแบบบัญชีตำแหน่งที่ขาด ตามผนวก ก.
4.4 การเตรียมเอกสารการเรียกพล
4.4.1 ให้หน่วยเรียกพลเตรียมเอกสารต่าง ๆ โดยแยกใส่ซองเป็นตำบลแล้วรวมเป็นอำเภอ จนถึงจังหวัด ให้แล้วเสร็จก่อนวัน ต.- 10 เพื่อรับการตรวจจากหน่วยวางแผน และให้พร้อมที่จะส่งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดทันทีที่ได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติการเรียกพลในวัน ต.
4.4.2 การเรียกกำลังพลสำรอง ประเภทนายทหารสัญญาบัตร ให้หน่วยเรียกพลเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้แล้วเสร็จก่อน วัน ต. – 10 เพื่อรับการตรวจจากหน่วยวางแผน และให้พร้อมที่จะส่งไปถึงกำลังพลสำรองผู้นั้น ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับทันทีที่ในวัน ต.
4.4.3 เอกสารการเรียกพล ตามผนวก ก. ตัวอย่างแบบบัญชีและเอกสารการเตรียมพล
4.5 การเตรียมบัญชีรับพลและส่งพล
4.5.1 จัดเตรียมบัญชีรับพล 5 ชุด ให้แล้วเสร็จก่อนวัน ต. – 10
4.5.1.1 ใช้แบบของบัญชีเรียกพล (ตพ.8) โดยให้แก้หัวบัญชีจาก “ บัญชีเรียกพล “ เป็น “ บัญชีรับพล “
4.5.1.2 ให้ตรวจสอบการดำเนินกรรมวิธีรับพล ของชุดเจ้าหน้าที่ดำเนินกรรมวิธีรับพล
4.5.2 จัดเตรียมบัญชีส่งพล จำนวน 2 ชุด ให้แล้วเสร็จก่อนวัน ต. – 10
4.5.2.1 ใช้แบบของบัญชีเรียกพล (ตพ.8) โดยให้แก้หัวบัญชีจาก “ บัญชีเรียกพล “ เป็น “ บัญชีส่งพล “
4.5.2.2 ใช้เป็นหลักฐานในการส่งพล ให้หน่วยรับพล
4.5.3 บัญชีรับพลและบัญชีส่งพล ตามผนวก ก. ตัวอย่าง แบบบัญชีและเอกสารการเตรียมพล
4.6 การเตรียมการทางธุรการอื่น ๆ
4.6.1 เตรียมสถานที่อันประกอบด้วย
4.6.1.1 ที่รวมพล เป็นสถานที่กว้างขวาง เพียงพอกับจำนวนกำลังพลสำรองที่ถูกเรียกพล ให้มีเสาธงเพื่อทำพิธีเชิญธงชาติในวันเปิดการดำเนินกรรมวิธีรับพล พร้อมทั้งที่พักกำลังพลและเครื่องขยายเสียงด้วย
4.6.1.2 สถานที่ดำเนินกรรมวิธีรับพลรวมทั้งอุปกรณ์ในการดำเนินกรรมวิธี
4.6.1.3 อาคารพร้อมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ประจำอาคาร เช่น ห้องอบรม , โรงอาหาร , สถานที่ฝึกอบรม , เครื่องช่วยฝึก ฯลฯ
4.6.1.4 สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับกำลังพลสำรอง ที่ถูกเรียกพล
4.6.1.5 ป้ายต้อนรับ , ป้ายคำขวัญ ฯลฯ
4.6.1.6 สถานที่ส่งพล
4.6.2 ดำเนินงานในเรื่องการส่งกำลังบำรุง
4.6.3 การเตรียมการทางธุรการดังกล่าวให้แล้วเสร็จก่อนวัน ต.
4.6.4 ตัวอย่างการจัดสถานที่รวมพล และสถานที่ดำเนินกรรมวิธีรับพล ตามผนวก ข.
4.7 เจ้าหน้าที่ดำเนินกรรมวิธีรับพล
4.7.1 ให้หน่วยเรียกพล แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดำเนินกรรมวิธีรับพล – ส่งพล ให้เพียงพอกับจำนวนกำลังพลสำรองที่มารายงานตัว โดยมีเกณฑ์พิจารณา คือ เจ้าหน้าที่ดำเนินกรรมวิธีรับพล จำนวน 1 ชุด สามารถดำเนินกรรมวิธีต่อกำลังพลสำรอง จำนวน 300 นาย แล้วเสร็จภายใน 2 ชั่วโมง
4.7.2 เจ้าหน้าที่ดำเนินกรรมวิธีรับพล 1 ชุด ควรมี จำนวนอย่างน้อย 22 นาย ประกอบด้วย
4.7.2.1 หัวหน้าชุดยศ พ.ต. จำนวน 1 นาย
4.7.2.2 เจ้าหน้าที่แนะนำ นายทหารสัญญาบัตร จำนวน 1 นาย และนายทหารประทวน จำนวน 1 นาย
4.7.2.3 เจ้าหน้าที่รับรายงาน นายทหารสัญญาบัตร จำนวน 1 นาย และนายทหารประทวน จำนวน 5 นาย
4.7.2.4 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบการเดินทาง นายทหารสัญญาบัตร จำนวน 1 นาย และนายทหารประทวน จำนวน 1 นาย
4.7.2.5 เจ้าหน้าที่ตรวจร่างกาย นายทหารสัญญาบัตร จำนวน 1 นาย (นายแพทย์ปริญญา) และนายทหารประทวน จำนวน 2 นาย
4.7.2.6 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ขนาดเครื่องแต่งกาย นายทหารสัญญาบัตร จำนวน 1 นาย และนายทหารประทวน จำนวน 4 นาย
4.7.2.7 เจ้าหน้าที่ส่งพล นายทหารสัญญาบัตร จำนวน 1 นาย และนายทหารประทวน จำนวน 2 นาย
4.7.3 หน้าที่ของหัวหน้าชุดเจ้าหน้าที่ดำเนินกรรมวิธี
4.7.3.1 ประสานงาน กำกับดูแลการดำเนินกรรมวิธีรับพล ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และแล้วเสร็จตามกำหนดเวลา
4.7.3.2 แก้ปัญหาในการดำเนินกรรมวิธีรับพลที่อาจเกิดขึ้น เช่น กำลังพลสำรองมิได้นำหลักฐานต่าง ๆ มาด้วย , กำลังพลสำรองได้รับการผ่อนผันการเรียกพล ฯลฯ
4.7.4 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่แนะนำ
4.7.4.1 แนะนำการปฏิบัติ ในการดำเนินกรรมวิธีทุกขั้นตอนให้กำลังพลสำรองทราบ
4.7.4.2 จัดให้กำลังพลสำรอง ผ่านเข้ารับการดำเนินกรรมวิธีให้ถูกต้องตามสายที่กำหนด และให้มีจำนวนพอเหมาะกับเจ้าหน้าที่แต่ละโต๊ะ
4.7.4.3 ควบคุมกำลังพลสำรอง ณ ที่พักคอย
4.7.5 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่รับรายงาน
4.7.5.1 ตรวจสอบผู้ถูกเรียก ให้ตรงกับบัญชีรับพล
4.7.5.2 บันทึกข้อมูล ของกำลังพลสำรองให้ถูกต้องตามความเป็นจริง โดยจัดทำ 2 ชุด เก็บไว้ที่หน่วยเรียกพล 1 ชุด เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำ ตพ.21 และ ตพ.22 และ ตพ.23 และส่งให้หน่วยรับพล 1 ชุด เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับการบรรจุในบัญชีบรรจุกำลัง
4.7.5.3 ประทับตรารับรายงาน (ตพ.24) และเซ็นชื่อกำกับในหมายเรียกพล หรือคำสั่งเรียกพล แล้วส่งคืนให้กำลังพลสำรอง เพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการขอยกเว้นค่าโดยสารยานพาหนะของรัฐบาลและ/หรือรัฐวิสาหกิจในเที่ยวกลับ
4.7.5.4 เรียกเก็บ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ 1 และหนังสือสำคัญ (สด.8 ) หรือใบสำคัญทหารกองเกิน และใบสำคัญทหารกองหนุนประเภทที่ 2 (สด.9) เพื่อประทับตราบันทึกเพิ่มเติม (ตพ.25) ลงในด้านหลังของปกหน้า กรอกข้อความให้ครบ แล้วส่งคืนในวันดำเนินกรรมวิธีปลดปล่อยพล ในกรณีที่ผู้ถูกเรียกพลมิได้นำหลักฐานดังกล่าวติดตัวมาด้วย ก็ให้ประทับตราบันทึกเพิ่มเติม (ตพ.25) ไว้ด้านหลังของหมายเรียกหรือใบรับรองของนายอำเภอ และถ้ากำลังพลสำรองทำหลักฐานซึ่งประทับตราบันทึกเพิ่มเติม (ตพ.25) สูญหาย ก็ให้แจ้งต่อสัสดีอำเภอ เพื่อสัสดีอำเภอจะได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนให้ทำการสอบสวนและรายงานตามการบังคับบัญชา พร้อมทั้งส่งหลักฐานฉบับทดแทนใหม่ไปยัง จทบ. เพื่อกำหนดหน้าที่ใน ตพ.25 ให้
4.7.5.5 ตัวอย่าง บันทึกข้อมูลกำลังพลสำรองที่ถูกเรียกพล , ตรารับรายงาน (ตพ.24) ตราบันทึกเพิ่มเติม (ตพ.25) , หนังสือรับรองของนายอำเภอตามผนวก ก.
4.7.6 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการเดินทาง
4.7.6.1 ตรวจสอบประเภท และความสะดวกในการเดินทางของกำลังพลสำรอง เพื่อบันทึกในบัญชีรับพล
4.7.6.2 เก็บบัตรโดยสารยานพาหนะส่วนที่ 1 กับบัตรโดยสารยานพาหนะที่กำลังพลสำรองไม่ได้ใช้
4.7.7 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตรวจร่างกาย
4.7.7.1 ตรวจร่างกายของกำลังพลสำรองที่ถูกเรียกพลแล้วบันทึกผลไว้ในบัญชีรับพล
4.7.7.2 กำลังพลสำรองผู้ใด ซึ่งจะต้องการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ให้คัดรายชื่อไว้ตรวจในภายหลัง หรือมอบให้คณะแพทย์ที่จัดเตรียมไว้เป็นกรณีพิเศษทำการตรวจ ทั้งนี้ เพื่อมิให้การดำเนินกรรมวิธีต้องหยุดชะงัก
4.7.7.3 กำลังพลสำรองผู้ใดพิการทุพพลภาพหรือมีโรคซึ่งไม่สามารถรับราชการทหารได้ ก็ให้ดำเนินการปลดพ้นราชการทหาร โดยแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา ซึ่งประกอบด้วยกรรมการ 3 ฝ่าย คือ ผบ.หน่วยเรียกพล , ผบ.หน่วยรับพล และนายแพทย์ผู้ทำการตรวจ
4.7.8 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบขนาดเครื่องแต่งกาย
4.7.8.1 วัด หรือทดลองขนาดเครื่องแต่งกายสำหรับกำลังพลสำรองที่ถูกเรียกพล และบันทึกสำหรับหาสถิติในบัญชีเรียกพล (ตพ.8) เพื่อใช้เป็นหลักฐานการจ่ายเครื่องแต่งกายต่อไป
4.7.8.2 ถ้ามีการจ่ายเครื่องแต่งกายให้แก่ กำลังพลสำรองที่ถูกเรียกพล ก็ให้เตรียมบัตรบันทึกขนาดเครื่องแต่งกาย (ตพ.26) โดยลงรายงานให้ถูกต้อง และมอบให้แก่กำลังพลสำรอง เพื่อนำไปแสดงในการรับเครื่องแต่งกายจากหน่วยจ่ายเครื่องแต่งกายตามที่กำหนด
4.7.8.3 ตัวอย่าง บัตรบันทึกขนาดเครื่องแต่งกาย (ตพ.26) ตามผนวก ก.
4.7.9 หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ส่งพล
4.7.9.1 บันทึกรายละเอียดในการดำเนินกรรมวิธีรับพล ทุกขั้นตอนของกำลังพลสำรอง ลงในบัญชีส่งพล
4.7.9.2 ควบคุมกำลังพลสำรองที่ผ่านการดำเนินกรรมวิธีแล้ว ณ บริเวณที่ส่งพล
4.7.9.3 ส่งกำลังพลสำรองที่ผ่านการดำเนินกรรมวิธี พร้อมทั้งบัญชีส่งพลให้แก่เจ้าหน้าที่ที่รับพล โดยลงนามรับ- ส่ง ให้เรียบร้อย
5.การเตรียมการของหน่วยรับพล
ให้หน่วยรับพลเตรียมการฝึกอบรมกำลังพลสำรอง โดยแยกเป็นงานของเจ้าหน้าที่สายต่าง ๆ ดังนี้.-
5.1 เจ้าหน้าที่กำลังพล
5.1.1 จัดทำบัญชีบรรจุกำลังให้แล้วเสร็จก่อนวัน ต. -
5.1.1.1 บรรจุเจ้าหน้าที่โครงให้เต็มตาม อจย.
5.1.1.2 ส่งบัญชีตำแหน่งขาด ( ทบ.100 - 103 ) ไปยังหน่วยเรียกพล เพื่อขอรายชื่อและรายละเอียดของกำลังพลสำรอง เพื่อนำไปบรรจุในบัญชีบรรจุกำลัง
5.1.2 เตรียมการในเรื่องสวัสดิการ , ขวัญ , ระเบียบ , ข้อบังคับ , คำสั่ง ฯลฯ
5.1.3 เตรียมการในการรับพล ตลอดจนการดำเนินกรรมวิธีปลดปล่อยพล
5.1.4 เตรียมงานอื่น ๆ ตามที่ที่หน่วยกำหนดขึ้น
5.2 เจ้าหน้าที่การข่าว
5.2.1 เตรียมวางมาตรการการข่าวกรอง และการต่อต้านข่าวกรองของหน่วย
5.2.2 เตรียมการตรวจสอบประวัติขั้นต้น ของกำลังพลสำรองและการจัดทำประวัติบุคคล
5.2.3 เตรียมงานอื่น ๆ ตามที่หน่วยกำหนดขึ้น
5.3 เจ้าหน้าที่ยุทธการและการฝึก
5.3.1 เตรียมการในเรื่องเจ้าหน้าที่โครง และ/หรือ เจ้าหน้าที่ครูฝึกให้พร้อม โดยทำการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ดังกล่าว เพื่อให้มีความรู้ความสามารถที่จะฝึกอบรมกำลังพลสำรองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.3.2 เตรียมอาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องช่วยฝึกต่าง
5.3.3 เตรียมคำสั่งการฝึก ตารางกำหนดการฝึก คู่มือ และหลักฐานการฝึกสอน และสมุดบันทึกการตรวจการฝึกสำหรับเจ้าหน้าที่ครูฝึก
5.3.4 แจกจ่ายคู่มือ และหลักฐานการฝึก ให้แก่หน่วยที่เกี่ยวข้องและกำลังพลสำรองที่เข้ารับการฝึก
5.3.5 เตรียมงานอื่น ๆ ตามที่หน่วยกำหนดขึ้น
5.4 เจ้าหน้าที่ส่งกำลังบำรุง
5.4.1 เตรียมการทางด้าน เอกสาร , หลักฐาน , บัญชีคุม , การเบิกรับ , เก็บรักษา , แจกจ่าย , และจำหน่าย สป. ต่าง ๆ
5.4.2 เตรียมสถานที่ อาคาร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับกำลังพลสำรอง
5.4.3 เตรียมการในเรื่องการเลี้ยงดูกำลังพลสำรอง
5.4.4 เตรียมงานอื่น ๆ ตามที่หน่วยกำหนด
5.5 เจ้าหน้าที่กิจการพลเรือน
5.5.1 เตรียมการในเรื่องการประชาสัมพันธ์ทุกขั้นตอนของการเรียกพล
5.5.2 เตรียมการในเรื่องการปฏิบัติการกิจการพลเรือน
5.5.3 เตรียมงานอื่น ๆ ตามที่หน่วยกำหนด
5.6 เจ้าหน้าที่สายงานอื่น ๆ คงดำเนินงานไปตามหน้าที่ หรือตามที่หน่วยมอบหมายให้